logo
กรมธนารักษ์
สำนักงานธนารักษ์พื้นที่บึงกาฬ
THE TREASURY
DEPARTMENT
MENU
  • A
  • A
  • A

เกี่ยวกับจังหวัด

   
 

จังหวัดบึงกาฬ

      จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป โดยแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย

 

      ใน พ.ศ. 2537 นายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคายเสนอให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬขึ้น โดยกำหนดจะแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย รวมเป็นท้องที่ทั้งหมด 4,305 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 390,000 คน อย่างไรก็ดีกระทรวงมหาดไทย แจ้งผลการพิจารณาว่า ยังไม่มีแผนที่จะยกฐานะอำเภอบึงกาฬขึ้นเป็นจังหวัด เพราะการจัดตั้งจังหวัดใหม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำลังคนภาครัฐ ซึ่งจะขัดกับมติคณะรัฐมนตรี

 

      โครงการร้างมาเกือบ 20 ปี กระทั่ง พ.ศ. 2553 กระทรวงมหาดไทย ได้นำเรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง เพื่อยก "ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ..."ผลการสำรวจความเห็นของประชาชนจังหวัดหนองคายในคราวเดียวกัน ปรากฏว่า ร้อยละ 98.83 เห็นด้วยกับการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ต่อมา วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจึงถวายร่างพระราชบัญญัติให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย โดยทรงลงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 นำประกาศเป็น"พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 และใช้บังคับในวันรุ่งขึ้น โดยให้เหตุผลว่า
      1. เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในเรื่องอำเภอ จำนวนประชากร และลักษณะพิเศษของจังหวัด อีกทั้งยังเป็นผลดีต่อการให้บริการแก่ประชาชน
      2. จังหวัดหนองคายเป็นพื้นที่แนวยาวทอดตามแม่น้ำโขง จึงมีผลต่อการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดน
      3. จังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดอำนาจเจริญที่เคยตั้งขึ้นใหม่ก็มีเนื้อที่น้อยกว่าหลักเกณฑ์มติคณะรัฐมนตรีเช่นกัน
      4. จังหวัดที่ตั้งขึ้นใหม่ไม่ให้บริการสาธารณะซ้ำซ้อนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
      5. บุคลากรจำนวน 439 อัตรา สามารถกระจายกันในส่วนราชการได้ ไม่มีผลกระทบมากนัก

 

      ต่อมารัฐสภาได้มีมติเห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ..." เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจึงถวายร่างพระราชบัญญัติให้พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย โดยทรงลงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 นำประกาศเป็น "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 และใช้ บังคับในวันรุ่งขึ้น เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ มีว่า

 

      "...เนื่องจากจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่มีท้องที่ติดชายแดน และมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวยาวทำให้การติดต่อระหว่างอำเภอที่ห่างไกลและจังหวัดเป็นไปด้วยความยากลำบาก และใช้ระยะเวลาในการเดินทางมากเกินควร ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครอง การรักษาความมั่นคง และการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในท้องที่ สมควรแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดบึงกาฬ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้"

 

      นอกจากมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ โดยมีองค์ประกอบเป็นอำเภอทั้งแปดข้างต้นแล้ว มาตรา 4 ยังให้เปลี่ยนชื่อ "อำเภอบึงกาฬ" เป็น "อำเภอเมืองบึงกาฬ"

 

      เมื่อวันที่ 22-25 มีนาคม พ.ศ. 2554 ได้มีการจัดงานฉลองจังหวัดบึงกาฬอย่างยิ่งใหญ่ โดยมีนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีต่อมารัฐสภาได้มีมติเห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ..." เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีจึงถวายร่างพระราชบัญญัติให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย โดยทรงลงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 น าประกาศเป็น "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬพ.ศ. 2554" ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 และใช้บังคับในวันรุ่งขึ้น

 

ภูมิศาสตร์
อาณาเขต
บึงกาฬเป็นจังหวัดที่มีเขตพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นแนวพรมแดน
      - ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงบริคำไชย ประเทศลาว
      - ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงบริคำไชย ประเทศลาว และจังหวัดนครพนม
      - ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดสกลนคร
      - ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงบริคำไชย ประเทศลาว และจังหวัดหนองคาย

 

สภาพภูมิประเทศ
      จังหวัดบึงกาฬเป็นจังหวัดที่มีสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ แวดล้อมไปด้วยภูเขาและน้ำตกที่สวยงาม เช่นน้ำตกเจ็ดสี, น้ำตกตากชะแนน ที่อยู่ภายในอุทยานแห่งชาติภูวัว พื้นที่ส่วนใหญ่ในจังหวัดเป็นที่ราบลุ่ม

 

การท่องเที่ยว
      - เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูวัว (อำเภอบุ่งคล้า) ผืนป่าใหญ่ของจังหวัดบึงกาฬ และเป็นป่าอนุรักษ์ที่สวย สมบูรณ์ที่สุดอีกแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายในพื้นที่มีน้ำตกสวยงามหลายแห่ง โดยมี น้ำตกตาดชะแนนเป็นน้ำตกขนาดใหญ่สุด
      - น้ำตกเจ็ดสี(อำเภอเซกา) น้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูวัว สายน้ำไหลตกจากหน้าผาหินทรายแล้วแผ่กว้างออกสวยงามตระการตา ด้านล่างมีแอ่งน้ำสำหรับเล่นน้ำและโขดหินให้นั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจ
      - น้ำตกตาดกินรี(อำเภอบึงโขงหลง) อยู่ในป่าภูลังกา เป็นน้ำตกใหญ่ไหลลงสู่หุบเหว น้ำตกชั้นบนไหลลดหลั่นกันไปตามลานหินกว้าง และมีแอ่งน้ำใสให้เราสามารถลงไปเล่นน้ำกันได้
      - บึงโขงหลง (อำเภอบึงโขงหลง) ทะเลสาบขนาดใหญ่ที่เป็นพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์นก โดยเฉพาะนกน้ำที่ย้ายถิ่นเข้ามาในช่วงฤดูหนาว ทั้งห่านป่า นกเป็ดน้ำ นกยาง นกกระเต็น มีจุดดูนกอยู่ดอนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง บริเวณบึงยังมีหาดคำสมบูรณ์ที่มีหาดทรายทอดยาวในช่วงฤดูหนาว เป็นแหล่งพักผ่อนและชมวิวทิวทัศน์ มองเห็นภูลังกาเป็นฉากหลัง
      - ภูทอก (อำเภอศรีวิไล ) ภูเขาหินทราย ที่มีวัดเจติยาคีรีวิหาร ตั้งอยู่เชิงเขา และมีสะพานไม้สร้างวนเวียนขึ้นไปสู่ยอดเขารวม 7 ชั้น เพื่อเป็นทางเดินขึ้นไปยังกุฏิและถ้ำที่อยู่ตามหลืบผา และมองเห็นความสวยงามของภูมิประเทศเบื้องล่างได้ไกลสุดลูกหูลูกตา ถ้าในวันที่อากาศแจ่มใสอาจมองได้ไกลถึงเทือกเขาในเขตจังหวัดนครพนม
      - วัดสว่างอารมณ์(อำเภอปากคาด) ภายในวัดมีโบสถ์อยู่ยนก้อนหินใหญ่ หลืบถ้ำด้านล่างเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ปางปรินิพพาน บริเวณด้านบนก้อนหินเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์สวยงามของแม่น้ำโขง
      - หาดทรายขาว (อำเภอเมืองบึงกาฬ) เป็นหาดทรายขาวริมฝั่งแม่น้ำโขงที่สวยงามระยะทางยาวประมาณ2 กิโลเมตร เมื่อยามเช้าและเย็นอากาศดี ลมพัดเย็นสบาย และความสวยงามเมื่อพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า
      - แก่งอาฮง (อำเภอเมืองบึงกาฬ) เป็นแก่งหินกลางล าน้ าโขง บริเวณหน้าวัดอาฮงศิลาวาส บ้านอาฮงตำบลไคสีถือว่าเป็นจุดที่แม่น้ำโขงมีความลึกที่สุดไม่สามารถวัดความลึกได้ กระแสน้ำบริเวณแก่งอาฮงจะไหลเชี่ยวมากในฤดูน้ำหลาก และมีกระแสน้ำไหลวนเป็นรูปกรวยขนาดใหญ่ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็น"สะดือแม่น้ำโขง" แม่น้ำโขงบริเวณแก่งอาฮงมีความกว้างประมาณ 300 เมตรในฤดูน้ าลด และมีความกว้างราว 400 เมตรในฤดูน้ าหลาก และจะสามารถมองเห็นแก่งได้ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคมของทุกปี และกลุ่มหินที่ปรากฏบริเวณแก่งอาฮงจะมีชื่อเรียกตามลักษณะของหิน เช่น หินลิ้น นาค หินปลาเข้ ถ้ำปลาสวาย นอกจากจะเป็นแหล่งพักผ่อนและสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอเมืองบึงกาฬแล้ว ยังเป็นหนึ่งในสถานที่เกิดปรากฏการณ์ "บั้งไฟพญานาค" ในช่วงประเพณีออกพรรษาจะมีนักท่องเที่ยวมาพักเที่ยวชมบั้งไฟพญานาคบริเวณบ้านอาฮงเป็นจำนวนมาก จะมีมากในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ที่ปฏิทินไทยกับปฏิทินประเทศลาวตรงกัน และชาวบ้านโดยรอบยังอาศัยทำการประมงด้วย
      - หนองกุดทิง (อำเภอเมืองบึงกาฬ) แหล่งท่องเที่ยวและพื้นที่ชุ่มน้ำที่ยังความเป็นธรรมชาติไว้อย่างแท้จริง ด้วยมีพื้นที่เชื่อมต่อแม่น้ำโขง ทำให้พื้นที่แห่งนี้มีความความหลากหลายทางชีวภาพจนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระดับโลก (พื้นที่แรมซาร์) แห่งที่ 11 ของประเทศไทย หนองกุดทิงมีพื้นที่ราว 22,000 ไร่ มีสัตว์น้ำอาศัยอยู่มากกว่า 250 สายพันธุ์ มีปลาที่เป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวในโลกถึง 20 สายพันธุ์ มีนกพันธุ์ต่างๆกว่า40 ชนิด เหมาะสำหรับการมาพักผ่อน ชื่นชมธรรมชาติในวันสบาย ๆ
      - ตลาดสองฝั่งโขง (อำเภอเมืองบึงกาฬ) เป็นตลาดริมแม่น้ำโขงที่มีพ่อค้าแม่ค้าทั้งคนไทยและคนลาวข้ามฟากมาเปิดขายสินค้าในท้องถิ่นกันอย่างคึกคัก ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง เสื้อผ้า ของกินพื้นถิ่น เดินเล่นในบรรยากาศแบบพื้นบ้าน ติดตลาดเฉพาะวันอังคารกับวันศุกร์
            
 
            
 
      

เอกสารดาวน์โหลด

   ชื่อเอกสาร ขนาด จำนวนดาวน์โหลด   
article_20140930092453.pdf 132 KB 384
18 กุมภาพันธ์ 2562 | จำนวนเข้าชม 3744 ครั้ง